กายภาพบำบัดกับอาการปวดไหล่

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

 

หนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญ และเป็นอวัยวะที่พวกเราทุกคนไม่สามารถขาดมันได้เลยในการทำกิจวัตรประจำวันในแต่ละวัน นั่นคือ “ข้อไหล่” ซึ่งหลายคนคงไม่ได้สนใจหรือใส่ใจเจ้าอวัยวะนี้มากนัก เมื่อเทียบกับ แขน ขา ดวงตา หรือ มือ แต่จริงๆแล้วข้อไหล่ก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีความสำคัญไม่ได้หยิ่งหย่อนไปกว่าอวัยวะที่ได้กล่าวมาข้างต้นเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากข้อไหล่ของคนเรานั้น ถือเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุด และในทางกลับกันก็มีความเปราะบางที่สุดด้วย ลักษณะองศาของการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะแตกต่างกับข้ออื่นๆในร่างกาย ถ้าเราไม่รู้จักใช้งาน ข้อไหล่ของเราอาจมีการสึกหลอหรือฉีกขาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งการปวดไหล่อาจส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆด้วย อาจทำให้เกิดการปวดแขน ปวดมือ ปวดคอได้ นอกจากนี้อาการปวดไหล่ก็อาจเป็นตัวบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ หรือถุงน้ำดี ดังนั้นอาการปวดไหล่จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆอีกต่อไป  หากท่านมีอาการปวดไหล่มาก ควรที่จะไปปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อทำการตรวจสาเหตุที่แท้จริงของการปวดไหล่การตรวจเช็คสุขภาพไหล่ มีดังนี้

  • หมุนแขนของตนเองว่าสามารถหมุนเป็นวงกลมได้หรือไม่
  • ยกแขนขึ้นมาข้างหน้าให้แนบหูและเหยียดแขนไปด้านหลังดูว่ามีการติดขัดหรือไม่
  • กางแขนออกไปด้านข้างให้แนบใบหูและหุบแขนผ่านลำตัวมาทางด้านหน้าว่าไหลลื่นดีหรือไม่
  • งอข้อศอกให้ตั้งฉาก และหมุนให้มือออกไปข้างลำตัว และหมุนกลับเข้ามาในลำตัวหรือทำมือไขว้หลังควรยกแขนให้แตะปลายสะบักได้ หากไหล่ของเรามีการทำงานอย่างหนักก็มีโอกาสเกิดความผิดปกติมากด้วยเช่นกัน

 

วิธีการทำกายภาพบำบัดง่ายๆ  โรคปวดไหล่

การทำกายภาพบำบัดสำหรับโรคปวดไหล่ มีจุดประสงค์เพื่อลดอาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่แข็งแรงมากขึ้น ทำให้ข้อไหล่ เคลื่อนไหวได้ปกติ และป้องกันไม่ให้ไหล่ติด โดยวิธีการทำกายภาพบำบัดสำหรับโรคปวดไหล่ มีดังนี้

  • การออกกำลังกายเพื่อการรักษา และแนะนำ ท่าทางต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย
  • การดึงและตัดข้อไหล่ ในกรณีข้อไหล่ติดแข็ง
  • อย่ายกของมากเกินกำลังของตนเอง
  • การยกของควรงอข้อศอก ไม่ควรยกแขนตรง ๆ และควรยกน้ำหนักใกล้ตัว
  • ไม่ควรอ่านหนังสือ หรือดูทีวีในท่านอนคว่ำ ท้าวแขนข้างที่ปวด
  • ถ้าท่านปวดแขนไม่ควรยกแขนขึ้นเท้าประตูรถ
  • เวลานอนไม่ควรนอนทับแขนข้างที่ปวด

นอกจากนี้การดำเนินชีวิตประจำวันด้วยท่าทางที่เหมาะสมก็เป็นส่วนสำคัญ เพื่อช่วยป้องกันโรคปวดไหล่ มีดังนี้

  • ควรยืนในลักษณะที่ตัวตรง
  • หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องยื่นมือไปบนศีรษะ นาน ๆ ควรหาเก้าอี้มารองให้เอื้อมหยิบได้ง่าย
  • ควรใช้แขนอย่างระมัดระวัง อย่าให้เกิดการ ยอกขึ้น ควรใช้หลักกลศาสตร์และสามัญสำนึกอยู่เสมอ
  • เมื่อรู้สึกว่าปวดไหล่ไม่มาก ควรใช้แผ่น ความร้อน ถ้าไม่หายควรปรึกษาแพทย์
  • การเล่นควรให้แขนอยู่ในท่าที่ปลอดภัยอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้โยกกล้ามเนื้อมีการฉีกขาด
  • ควรออกกำลังให้กล้ามเนื้อรอบไหล่แข็งแรง

วิธีกายภาพบำบัด และวิธีการปฏิบัติตนเหล่านี้ สามารถช่วยให้คุณมีอาการที่ดีขึ้นได้ ควรทำเป็นประจำ

สนใจอุปกรณ์กายภาพบำบัดอื่นๆ สามารถชมที่เมนู สินค้า ของเราได้ครับ

Leave a Reply