อาการปวดกับกายภาพบำบัด

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

เมื่อพูดถึงกายภาพบำบัดสิ่งที่ผู้คนมักคืออาการปวด อาการปวดถือว่าเป็นกลไกของร่างกายเพื่อคอยเตือนเราถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา เพื่อให้เราแก้ไขหรือบำบัดอาการที่เกิดขึ้นเล่านั้นเพื่อป้องกันอาการร้ายๆที่จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งโดยปกติคนเราเวลาปวดเล็กๆน้อยๆมักจะเพิกเฉยต่ออาการเหล่านั้น รอจนอาการกำเริบหรือเรื้อรังจึงค่อยพบแพทย์

สัญญาณอาการปวด

ในแต่ละวันคุณเคยสังเกตไหมการพฤติกรรมต่างๆของร่างกายของคุณนั้นเป็นต้นตอของอาการปวดหรือไม่ การที่คุณพยายามเพิกเฉยต่อสัญญาณต่างที่ร่างกายกำลังเตือนคุณ เช่น อาการเมื่อย อาการเหน็บชา ปวดร้าว ในเวลาที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหว โดยหากแบ่งสัญญาณการเตือนนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

ระดับ 1 เมื่อคุณนั่งทำกิจวัตรต่างๆ เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือยืนเป็นเวลานานๆ คุณจะเกิดอาการเมื่อย และเมื่อปล่อยไว้อาการเมื่อยจะเริ่มเป็นถี่ขึ้นเรื่อยๆและกินระยะเวลานานขึ้น นั่นถือเป็นสัญญาณเตือนในระดับที่ 1 ของร่างกาย เพื่อให้คุณกลับมาใส่ใจกับร่างกายของตนเอง

ระดับที่ 2 คืออาการปวด โดยหากคุณเลือกที่จะละเลยอาการเมื่อยที่เป็นสัญญาณระดับแรก ต่อมาร่างกายจะเริ่มมีอาการปวด ซึ่งอาการปวดก็มีหลายระดับ ทั้งปวดน้อย ปวดมาก ถ้าหากคุณยังละเลยและอดทนต่อการปวดอีก

ระดับต่อมา ระดับ 3 คือ อาการชา ปวดร้าว ซึ่งอาการดังกล่าวหากเกิดขึ้นกับคุณแสดงว่าร่างกายอาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาจจะต้องมีการรักษาถึงขั้นผ่าตัด ดังนั้นสัญญาณดังกล่าวทั้งไม่ว่าจะเป็นการเมื่อ ปวด หรือชา ล้วนเป็นสิ่งที่ร่างกายกำลังบอกกับคุณให้หันกลับมาใส่ใจกับมันบ้างก่อนที่จะลุกล่ามจนอาจจะสายเกินแก้

5 อาชีพเสี่ยงอาการปวด

ปัจจุบันมีหลายอาชีพที่มีลักษณะการทำงานที่มักนั่งอยู่กับที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว ซึ่งเสี่ยงต่ออาการปวดที่เกิดขึ้น อาชีพที่เข้าข่ายจะมีอาชีพอะไรกันบ้าง

 

พนักงานออฟฟิศ นักเขียน

อาชีพเหล่านี้มักเป็นอาชีพที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่นานๆ ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า ซึ่งเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ระดับโต๊ะทำงาน เก้าอี้ที่ไม่เหมาะกับสรีระผู้ใช้งาน ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการหดเกร็งจนหนีบรัดเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามมา

 

พนักงานต้อนรับ พนักงานขาย

อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยการยืนนานๆซึ่งทำให้เกิดอาการปัญหาเกี่ยวข้องกับบริเวณกล้ามเนื้อขาและหลัง มักปวดเมื่อยบริเวณน่องและหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะผู้หญิงที่สวมรองเท้าส้นสูง บางคนถึงกับเกิดอาการเส้นเลือดของตามมาเลยทีเดียว

 

พนักงานรับโทรศัพท์

อาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างเสี่ยง เนื่องจากมีท่าทางที่ไม่ค่อยเหมาะสม โดยต้องใช้คอหนีบโทรศัพท์และจดโน้ต ทำให้มักการปัญหาตรงบริเวณกล้ามเนื้อคอและไหล่ มักเกิดอาการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อคอจนคอมีอาการชา เนื่องจากมีการบีบรัดเส้นประสาทบริเวณคอ

 

พนักงานขับรถ

อาชีพขับรถมักมีอาการปวดบริเวณบริเวณบ่าและสะบัก เนื่องจากต้องมีการบังคับพวงมาลัยรถ และนอกจากนี้คือ อาการปวดหลังรวมด้วย รวมถึงอาการขาชา ที่เกิดจากการเกร็งขาตอนเหยียบเบรกหรือคันเร่ง ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญที่มีผล คือการปรับเบาะรถและระยะเวลาในการขับ จึงควรมีการหยุดพักบ้างเวลามีการเดินทางระยะไกล

 

พนักงานยกของ

อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ต้องมีการยกของเป็นประจำ แม้ของที่ยกมีน้ำหนักเบาก็อาจเกิดอาการเกร็งตัวแบบสะสมได้ การยกของในที่สูง มีการก้มๆเงยๆก็ทำให้มีการปวดคอหรือคอเคล็ดได้ กลุ่มนี้เสี่ยต่อการกดทับรากประสาทจากการปริ้นของหมอนรองกระดูกและการทรุดของกระดูกสันหลัง

 

ฉะนั้นหากคุณมีอาชีพอยู่ใน 5 อาชีพนี้ รวมถึงอาชีพอื่นๆที่มีการใช้ร่างกายที่ผิดวิธี คุณต้องสังเกตพฤติกรรมตนเองและอาจจะทำการกายภาพบำบัดหรือกายภาพบำบัดที่บ้านที่ทำงานเองอย่างง่ายๆเพื่อป้องกันอาการปวดเรื้อรัง

สนใจอุปกรณ์กายภาพบำบัด สามารถเข้าชมสินค้าของเราได้ที่เมนู สินค้า

Leave a Reply